วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Sniper / พลซุ่มยิง


เกริ่นนำ

           Sniper หรือ พลซุ่มยิง เป็นตำแหน่งในฝันที่ผู้เล่นใหม่หลายๆคนที่เข้ามาในที่แห่งนี้อยากเล่น อยากลิ้มลอง วันนี้กระผมว่างๆ เรยจะมาแนะนำแนวทาง ว่า Sniper หรือ พลซุ่มยิงนี้มีหน้าที่อัลรัย และจำเป็นจะต้องมีทักษะใดติดตัวบ้างถือจะเล่นได้ดี เล่นได้แล้วสามารถนำชัยชนะมาสู่หน่วยได้

ปล. ถ้าอยากลองเล่น Sniper Request ได้เรยนะฮ่ะ




ภารกิจของ Sniper

            ภารกิจของพลซุ่มยิงในขั้นต้นของการรบก็คือการสนับสนุนภารกิจการรบด้วยการยิงระยะไกลต่อเป้าหมายที่ได้เลือกแล้ว อาทิเช่น ผบ.หน่วยของข้าศึก , พลปืน .50 เป็นต้น

            ด้วยปฏิบัติการนี้พลซุ่มยิงเพิ่มยอดการสูญเสียของกําลังรบของข้าศึก, ลดความเร็วในการเคลื่อนที่ของข้าศึก, ทําให้ข้าศึกเกิดการหวาดกลัว, ลดขวัญ และเพิ่มความสับสนในการปฏิบัติของข้าศึก


            ภารกิจขั้นที่สองของพลซุ่มยิงก็คือการรวบรวมข้อมูลและรายงานข่าวสารการรบ เช่น ยืนยันและระบุตัวเป้าหมายสูงค่า รายงานกำลังรบและยุทธโธปกรณ์ของข้าศึก ,รายงานพื้นที่และภูมิประเทศของที่ตั้งข้าศึก เป็นต้น 


ทักษะที่จำเป็นในการเป็น Sniper

           1. ทักษะการยิงปืนระยะไกล
           โดยปกติ Sniper จะต้องทำการยิงเพื่อสังหารเป้าหมายในระยะประมาณ 700-1000 เมตร และการยิงจะต้องสามารถหวังผลได้ตั้งแต่นัดที่สองเป้นต้นไป ดังนั้นการฝึกฝนการยิงปืน การปรับระยะสโคป ให้มีความรวดเร็ว และแม่นยำจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างที่จะจำเป็น ***แต่ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นที่สุดในการเป็น Sniper***

           2. ทักษะการสังเกตุ
           การที่จะเป็น Sniper ได้นั้นจำเป็นที่จะต้องมีทักษะในการสักเกตุได้ดี เพราะจะต้องทำหน้าที่เป็นหูเป็นตาให้กับชุดปฎิบัติการ ยกตัวอย่าง เช่น จะต้องทำการรายงานจำนวนข้าศึก อาวุธที่ข้าศึกใช้ การแต่งกายของเป้าหมายสูงค่า เป็นต้น ทักษะในเรื่องการสังเกตุนี้จำเป็นอย่างมากในการเป็น Sniper (ทำการตรวจสอบจากพื้นที่เป้าหมาย ระยะ 1000-1500 เมตร จะต้องบอกได้ว่า ข้าศึกคือฝ่ายใด ใช้อาวุธอะไร มีกล้องกลางคืนหรือไม่ เป็นต้น)

           3. ทักษะการอ่านแผนที่ เข็มทิศ และภูมิประเทศ
           โดยปกติ ชุด Sniper จะทำการรับคำสั่งโดยตรงจาก SQ เท่านั้น ภาระกิจที่ได้รับ จะเป็นภาระกิจที่จะต้องทำการโดยอิสระ จะไม่มีผู้นำหน่วย ดังนั้น สิ่งที่ Sniper จะต้องมีความรู้และความชำนาญอย่างสูงคือเรื่อง ทักษะการอ่านแผนที่ เข็มทิศ และภูมิประเทศ เพราะชุด Sniper จะต้องทำการเคลื่อนที่โดยอิสระ โดยต้องอาศัยความรวดเร็วในการเข้าพื้นที่หามุมเพื่อตรวจสอบพื้นที่ การหาจุดซุ่มยิง และหลบหลีการตรวจจับของข้าศึกได้เป็นอย่างดี ซึ่งทักษะดังกล่าวนี้ เป็นทักษะที่สำคัญที่สุดในการเป็น Sniper (จะต้องสามารถระบุพิกัดตำแหน่งของข้าศึกลงบนแผนที่ได้อย่างแม่นยำ)



           หวังว่าบทความที่เขียนขึ้นมานี้ จะทำให้เซิฟ A3TF ของเรามี Sniper มือฉกาจเพิ่มขึ้นอีกสักคนสองคนนะครับ ส่วนผมขอจองไรเฟิลแมนโง่ๆ แล้วกันนะครับ เล่นสไนทีไร โคตรเหนื่อยเรย บ่องตง ....


วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Close Quarters Battle (CQB) / Close Quarters Combat (CQC)






           Close Quarters Battle (CQB) หรือ Close Quarters Combat ทั้งคู่คือรูปแบบของการต่อสู้ในพื้นที่ที่มีขอบเขตจำกัด ด้วยอาวุธประจำกายในระยะประชิด ซึ่งอาจจเรียกได้ว่า "hand-to-hand combat" ในรูปแบบของ CQB การเข้าปะทะจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การเข้ายึดที่หมายอย่างรวดเร็วและรุนแรง เช่น ยานพาหนะหรืออาคารที่ศัตรูยึดเป็นที่มั่น ในขณะที่ศัตรูไม่สามารถจะถอยร่นได้


       
           ต่ทว่าในสถานการณ์ดังกล่าว ศัตรู ตัวประกัน พลเรือน รวมทั้งผู้ปฏิบัติการเข้ายึดสามารถที่จะอยู่ใกล้กันมากจนอาจจะทำให้เกิดการชี้เป้าผิดพลาด ดังนั้น CQB จึงต้องการความรวดเร็ว และแม่นยำในภาระกิจที่เสี่ยงต่อชีวิต ผู้ปฏิบัติการจึงต้องมีความชำนาญมากในการใช้อาวุธ และต้องสามารถตัดสินใจได้เร็วพอๆกับลูกกระสุน ที่จะลดอัตราการสูญเสีย 

                              
           CQB มีคำนิยามว่า รวดเร็ว รุนแรง ระยะประชิด (short-duration high-intensity conflict)





           ปัจจุบันมีความเข้าใจที่ผิดที่ว่า CQB หมายถึง การต่อสู้ในชุมชนเมือง (Urban warfare) ซึ่งเป็นการแปลความหมายที่ผิดไป CQB นั้นหมายถึง ารต่อสู้ระยะประชิดซึ่งจะเน้นไปที่กองกำลังขนาดเล็กเพื่อความคล่องตัวสูง (small infantry units using light) อาวุธขนาดกะทัดรัดเพื่อความเร็วของการใช้งานและพกพาในพื้นที่ที่จำกัด ซึ่งจะแตกต่างกับการต่อสู้ในชุมชนเมือง Urban warfare ซึ่งมีพื้นที่ที่กว้างใหญ่มากๆ ซึ่งมีการวางแผนตรรกศาสตร์ที่ที่ซับซ้อนด้วยอาวุธและยุทธภัณฑ์ รวมทั้งอาวุธหนักทั้งหลาย แต่สุดท้ายแลัวการเลือกใช้ปฏิบัติการ CQB ก็ยังคงจำกัดด้วยหลายปัจจัยที่ต้องเหมาะกับสถานที่ และโอกาส การรบระยะประชิดจึงไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดเสมอ






         ในการปฏิบัติการทางทหาร การสู้รบอันเกิดขึ้นในระยะประชิด เช่น ในห้องเล็กๆ จะต้องถูกวางแผน และปฏิบัติอย่างรัดกุมและระมัดระวัง หน่วยรบที่จะต้องเข้าทำการปฏิบัติในภารกิจนั้นๆ จะต้องได้รับการฝึก ทดสอบ ซักซ้อม จนชุดยิงทุกชุดสามารถปฏิบัติหน้าที่ประสานสอดคล้องกันได้ด้วยดี สมาชิกในหน่วยจะต้องเข้าใจในหลักพื้นฐานและในส่วนของการปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเพื่อการบรรลุผลสัมฤทธิ์ ของภารกิจ หลักพื้นฐานนั้นได้แก่ การปฏิบัติอย่างฉับพลัน + ความเร็ว + ความรุนแรง
       1. การปฏิบัติอย่างเฉียบพลัน เป็นกุญแจหลักที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของภารกิจ ชุดยิงหรือส่วนบุกจะต้องปฏิบัติการอย่างเฉียบพลัน ในระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่วินาที ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจ(Deceive) ทำให้ไขว้เขว(Distract) หรือสร้างความตกใจแก่ศัตรู(Startling) หมายรวมไปถึงการใช้ระเบิดแสง(Stun grenade / Flash Bang) ด้วย แต่ในกรณีนี้จะเกิดผลดีก็ต่อเมื่อเป็นการปฏิบัติต่อฝ่ายข้าศึกที่ไม่ได้มีการระมัดระวังตัว หรือถูกฝึกมาในระดับที่ไม่สูงนัก แต่ถ้าข้าศึกถูกฝึกมาเป็นอย่างดี ขั้นตอนนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย
       2. ความเร็ว มีผลให้ทีมบุกสามารถเข้ายึด/เคลียร์พื้นที่ภายในห้องได้โดยปลอดภัย ใน CQB การใช้ความเร็วไม่ได้หมายความว่าจะต้องเคลื่อนที่เร็วมากจนสูญเสียการระมัดระวัง แต่หมายความว่า ให้ระวังแล้วไปอย่างรวดเร็ว
       3. ความรุนแรง คือการปฏิบัติต่อข้าศึกอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจด้วยการทำการยิงด้วยอำนาจของอาวุธที่มี เพื่อทำให้ข้าศึกนั้นเหลือโอกาสน้อยที่สุดที่จะสร้างอันตรายกับสมาชิกของทีมบุก หลักเบื้องต้นทั้งสามต่างมีความสำคัญและสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เช่น ความรุนแรงและความเร็ว จะส่งผลให้การปฏิบัตินั้นเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ส่งผลให้ข้าศึกเกิดความชะงักงัน





พื้นฐานของรูปแบบการ CQB

1. การเช็คมุม
    ทุกครั้งที่เข้าเคลียร์พื้นที่ ในเขตการปะทะ จะต้องทำการเช็คมุมยิงให้ปลอดภัย ก่อนที่จะเข้าพื้นเสมอ


2. การเข้าซ้อนการยิง
    เพื่อรักษาอำนาจการยิงให้สูงที่สุด การเข้าซ้อนการยิง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ในการเคลื่อนที่ จากจุดนึงไปยังอีกจุดนึง

3. การเคลื่อนที่ตามทางเดิน
    มีการเคลื่อนที่หลักๆ อยู่ 3 รูปแบบ
    แบบที่ 1 จะเป็นการเคลื่อนที่ในรูปแบบ ปกติ ทั่วๆไป
    แบบที่ 2 คนที่สองจะทำการขึ้นมาเสริมอำนาจการยิงด้านหน้า 
และลดอำนาจการยิงด้านข้างลงไป
    แบบที่ 3 การเคลื่อนที่จะเป็นการทุ่มอำนาจการยิงไปไว้ด้านหน้า
ทั้งหมด

4. การเข้าเคลียร์สามแยก
    ทำการแบ่งเป็นสองทีมเข้าเคลียร์พร้อมกัน

5. การขึ้นบันได
    ให้สักเกตุการวางมุมยิงของคนแรกและคนที่สองในภาพ มุมยิงของคนแรกหลังจากที่ทำการเช็คแล้ว จะทำการหันหลังกลับมาคุ้มกันด้านหลัง และคนที่สอง จะทำการวางแนวยิงแทนที่คนแรก


6. การเข้าเคลียร์ในห้องแบบที่ประตูอยู่ที่มุม
    คนที่หนึ่งและคนที่สอง จะต้องเป้นคนที่ทำการ วางแนวยิงก่อน และเคลื่อนที่ไปยังมุมของห้องที่อยู่ฝั่งตรงข้าม โดยคนที่ สามและสี่จะต้องเข้าตามมาและวางแนวยิงอย่างรวดเร็ว


7. การเข้าห้องแบบที่มีประตูอยู่กึ่งกลาง
    การเข้าห้องแบบนี้จะมีวิธีให้เลือกปฎิบัติอยู่สองแบบ
    แบบแรกคนแรกและคนที่สอง จะเข้าห้องพร้อมๆกันในแบบครอส และคนที่สามและสี่ ตามเข้ามาติดๆ
     แบบที่สอง คนแรกและคนที่สองเข้าห้องก่อนและทำการวางแนวยิง พร้อมๆกับการเคลื่อนที่ไปยังมุมห้อง และคนที่สามและสี่เคลื่อนที่ตามเข้ามา

        การปฏิบัติ ณ ที่หมายนั้น จะต้องกระทำด้วยความรวดเร็ว ที่สำคัญคือฝึกซ้อมมาแล้วเป็นอย่างดี ตระหนักโดยตลอดว่าพื้นที่ปฏิบัตินั้นเป็นพื้นที่ที่มีอันตรายรอบด้าน อย่าลืมหลักพื้นฐานของ CQB คือที่เราจะต้องสร้างความชะงักงันให้กับฝ่ายตรงข้ามให้ได้ มิเช่นนั้นฝ่ายเราเองจะเซอร์ไพรซ์กับสิ่งที่เค้าเตรียมไว้มอบให้เรา

1. ตำแหน่งการวางตัวของสมาชิกในทีมบุก ณ จุดปฏิบัติ จะต้องสัมพันธ์กับสภาพภายในห้องที่จะบุก

2. ให้สัญญาณพร้อมปฏิบัติกับสมาชิก อันนี้หลีกเลี่ยงการใช้เสียงถ้าเป็นไปได้

3. ยุทธวิธี cqb จะสำเร็จผล ส่วนสำคัญส่วนนึงคือ สมาชิกทีมจะต้องรู้ขอบเขตการยิงของตัวเองและของเพื่อนร่วมทีม รู้ขอบเขตการยิงที่ต้องยิงให้ประสานกัน และยังต้องรู้อีกว่า แนวยิงส่วนไหนที่เรายิงแล้วจะเป็นการรบกวนหรือแทรกแซงการยิงของสมาชิกคนอื่น สมาชิกจะต้องทำการยิงสังหารในระหว่างเคลื่อนที่ไปยังจุดของตน ไม่ใช่เข้าจุดแล้วค่อยทำการยิง ทำการสังหารข้าศึกจะต้องทำอย่างรวดเร็ว

4. ถึงแม้แต่ละคนจะรับผิดชอบเขตการยิงของตัวเอง แต่อย่าลืมช่วยสอดส่องเขตการยิงของคนอื่นๆด้วย เผื่อเค้าพลาดเราจะได้ช่วยเหลือทัน

*** ยุทธวิธีการ CQB ที่ได้นำมาเขียนนี้นำมาจากยุทธวิธีจริง แต่ได้มีการปรับปรุงดัดแปลงบางส่วนเพื่อที่สามรถนำมาใช้กับตัวเกม Arma 3 ได้ ***

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559

รูปแบบของ Formation

การเคลื่อนที่

เทคนิคในการเคลื่อนที่ และการเลือกรูปแบบของ Formation ระหว่างการฏิบัติการ


     รูปของ Formation เป็นการจัดการให้ส่วนต่าง ๆ และกำลังพลแต่ละนายให้สัมพันธ์และเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ตั้งแต่ระดับหมู่ปืนเล็กขึ้นไปจะต้องพิจารณาใช้รูปขบวนที่ให้ผลในเรื่องความอ่อนตัวในการควบคุมและการระวังป้องกัน ทั้งนี้การที่ SQ จะเลือกใช้รูปขบวนใดขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยมูลฐาน (METT – T) เป็นหลัก 




        รูปขบวน Wedge รูปขบวนนี้เป็นรูปขบวนพื้นฐานของชุดยิง ระยะต่อของกำลังพลแต่ละนายปกติจะห่างกันประมาณ 5-10 เมตร ภูมิประเทศจะเป็นตัวกำหนดให้ขนาดของรูปขบวนสามเหลี่ยมแหลมหน้านี้ขยายขนาดออกหรือลดขนาดลง เหมาะที่จะใช้ในการเข้าตีข้าศึกที่ไม่ทราบจำนวนแน่นอนและภูมิประเทศที่เราได้เสียเปรียบ




        รูปขบวนหมู่หน้ากระดาน (Line) รูปขบวนนี้ให้อำนาจการยิงตรงหน้าสูงสุด เหมาะที่จะใช้ในการเข้าตีข้าศึกที่ทราบจำนวนแน่นอนและภูมิประเทศที่เราได้เปรียบ



     Column เป็นรูปขบวนที่ มีการกระจายกำลังที่ดีในทางด้านข้าง โดยไม่ทำให้การควบคุมและการดำเนินกลยุทธ์ด้อยลง หน้าของพลปืนเล็กคนท้ายสุดของชุดยิงที่ปิดท้ายจะต้องทำหน้าที่ระวังป้องกันด้านหลัง




      File เป็นรูปขบวนนี้สามารถจัดได้หลายลักษณะ เช่น ใช้สามหมู่แถวตอนเคลื่อนที่ตามกัน โดยใช้เทคนิคการเคลื่อนที่ หรือจัดเป็นรูปหมวดแถวตอนเรียงหนึ่ง แต่จัดให้มีส่วนระวังป้องกันออกไปทางด้านหน้าและทางปีก เป็นต้น รูปขบวนลักษณะนี้จะใช้เมื่อทัศนวิสัยจำกัด เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศหรือแสงสว่าง


วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2559

รบอย่างไร ให้ชนะ

        

         “แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ” หรือคำกล่าวที่ว่า “ยามศึกเรารบ ยามสงบ เราฝึก” รวมทั้งคำกล่าวที่มักจะมีการพูดกัน เสมอ จนเกือบจะกลายเป็นแฟชั่นว่า “รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น” 




          แต่เบื้องหลังความสวยงามและความอลังการ ของถ้อยคำที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้นต้องการสื่อสารว่า การฝึกฝนเป็นสิ่ง สำคัญยิ่ง เพื่อเตรียมความพร้อมของทหารในการที่จะต้องเข้าทำสงคราม โดยอยู่บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า กำลังรบต้องมีการฝึกฝนอย่างจริงจังและ สม่ำเสมอ



          และสิ่งที่จะชี้ขาดผลของการรบ คือการวางแผน การแก้ปัญหาแบบหนึ่งที่ต้องตอบคำถามให้ได้ ว่าจะทำอย่างไร จึงจะสามารถบรรลุภารกิจที่ได้รับมอบหมายด้วยเครื่องมือ ที่มีอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด การวางแผนทางทหารที่ควรจะเป็น ควรจะต้องเริ่มต้นจากการ ตรวจทานกับหน่วยเหนือให้เข้าใจอย่างชัดเจนว่าหน่วยเหนือต้องการให้ ทำอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร และมีข้อจำกัดอย่างไร ซึ่งในขั้นตอนนี้ ต้องมีการพูดคุยกับหน่วยเหนืออย่างใกล้ชิด จากนั้นผู้บังคับหน่วยจะให้ กรอบสำหรับการวางแผนแก่ทีมวางแผน เมื่อได้รับกรอบนโยบายที่ ชัดเจนแล้ว ทีมวางแผนก็จะเริ่มลงมือวางแผนโดยพิจารณาปัจจัยที่ สำคัญ ๓ ประการคือ ปัจจัยสภาวะแวดล้อม ปัจจัยกำลังฝ่ายเรา และ ปัจจัยกำลังฝ่ายข้าศึก การพิจารณาปัจจัยสภาวะแวดล้อม 


         ซึ่งได้แก่ พื้นที่ เวลา และ ระยะทาง ก็เพื่อศึกษาว่าจะสามารถใช้ปัจจัยดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ สูงสุดต่อฝ่ายเราได้อย่างไร และมีสิ่งใดที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ สำหรับการพิจารณาปัจจัยกำลังฝ่ายเรานั้น ก็เพื่อตรวจสอบความพร้อม ของฝ่ายเราในทุก ๆ ด้าน เพื่อ สะท้อนให้เห็นว่า จุดแข็ง - จุดอ่อนของเราคืออะไร เรามีความพร้อม มากน้อยเพียงใด สิ่งใดที่ฝ่ายเราขาดแคลน สิ่งใดที่ฝ่ายเรามีอย่าง เพียงพอ อะไรคือจุดตายของฝ่ายเรา


         สำหรับการพิจารณาปัจจัยเกี่ยวกับข้าศึกนั้น คำตอบที่สำคัญคือ จุดอ่อน - จุดแข็งของข้าศึกคืออะไร ข้าศึกมีขีดความสามารถ อะไร และที่สำคัญกว่าก็คือ ข้าศึกมีความตั้งใจอย่างไร




วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559

 สายการบังคับบัญชาและบทบาทความรับผิดชอบ



        ในการปฏิบัติการรบนั้นสิ่งที่จะตัดสินให้การรบเป็นไปในทางแพ้หรือชนะหาใช่อยู่ที่อํานาจ ของอาวุธที่ฝ่ายหนึ่งจะมีอยู่เหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่งก็หาไม่ แต่ปัจจัยสําคัญจะทำให้ผลการรบให้เป็นไปในรูป ใดนั้นอยู่ที่ “คน” (ทหาร) เป็นสิ่งสําคัญที่สุด ถ้าได้คนดีแม้จะมีอาวุธด้อยกว่า กําลังพลน้อยกว่า ก็จะสามารถกําชัยชนะมาสู่หน่วยได้




HQ (Headquarters)           
  โดยปกติ HQ จะเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในภาระกิจนั้น เพราะคำสั่ง รูปแบบ และเนื้อหาภาระกิจ จะมาจาก HQ โดยตรง




Squad Team leader
   Squad จะเป็นผู้ที่มีอำนาจรองลงมาจาก HQ และเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดภายในทีม คำสั่งแผนการรบ และการตัดสินใจของ  Squad ถือเป็นคำสั่งเด็ดขาดที่ทุกคนจะต้องปฎิบัติตาม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผลการรบในภาระกิจจะขึ้นอยู่กับคำสั่งและการตัดสินใจของ  Squad ในหนึ่งภาระกิจ อาจจะมีหลาย Squad ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของภาระกิจ


Fire Team leader
            Fire Team จะเป็นผู้ที่มีอำนาจรองลงมาอีกขั้นของ Squad หากแปลตรงตัวจะหมายถึงหัวหน้าชุดยิง มีหน้าทีและความรับผิดชอบ ในการสั่งการลูกทีม ในการเข้าพื้นที่เขตการปะทะ และหาก Squad ไม่สามารถสั่งการได้ จะต้องสั่งการแทน (เว้นแต่ Squad ได้ทำการแต่งตั้งคนอื่นให้ดูแลแทน)

       We are A3TF (Arma 3 Thailand Family)

     กลุ่มเราเป็น comunity ที่ผมอยากนิยามว่าเป็นสังคมคนเล่นเกมส์แล้วกัน ไม่ว่าใครมาจากไหน ก็เป็นเพื่อนกันได้ ขอแค่มีใจรัก เปิดใจในการรับรู้เรื่องต่างๆ และมีจุดมุ่งหมายไปในทิศทางเดียวกัน ในเซริฟนี้เราอยู่กันแบบเพื่อน พี่ น้อง ตลอดระยะเวลา 3 ปีกว่า นับตั้งแต่วันแรกที่เราเปิดเซริฟอย่างเป็นทางการ เราเจอกับอุปสรรค์มากมาย ล้มลุกคลุกคลานกันมา แต่ก็ฝ่าฟันมาได้ เพราะว่าทุกคนช่วยเหลือกันคอยให้กำลังใจกัน ผลักดันกันไม่ยอมหยุดกับที่ เพื่อพัฒนาทักษะของตนเอง พัฒนากลุ่ม เพื่อดำรงไว้ซึ่งคำว่า "สังคมเกมส์ออนไลน์"


      พวกเราจะไม่ยอมให้ใครมาทำร้าย ไม่ยอมให้ใครข่มแหง ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง A3TF tactical team