“แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ” หรือคำกล่าวที่ว่า “ยามศึกเรารบ ยามสงบ เราฝึก” รวมทั้งคำกล่าวที่มักจะมีการพูดกัน เสมอ จนเกือบจะกลายเป็นแฟชั่นว่า “รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น”
แต่เบื้องหลังความสวยงามและความอลังการ ของถ้อยคำที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้นต้องการสื่อสารว่า การฝึกฝนเป็นสิ่ง สำคัญยิ่ง เพื่อเตรียมความพร้อมของทหารในการที่จะต้องเข้าทำสงคราม โดยอยู่บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า กำลังรบต้องมีการฝึกฝนอย่างจริงจังและ สม่ำเสมอ
และสิ่งที่จะชี้ขาดผลของการรบ คือการวางแผน การแก้ปัญหาแบบหนึ่งที่ต้องตอบคำถามให้ได้ ว่าจะทำอย่างไร จึงจะสามารถบรรลุภารกิจที่ได้รับมอบหมายด้วยเครื่องมือ ที่มีอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด การวางแผนทางทหารที่ควรจะเป็น ควรจะต้องเริ่มต้นจากการ ตรวจทานกับหน่วยเหนือให้เข้าใจอย่างชัดเจนว่าหน่วยเหนือต้องการให้ ทำอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร และมีข้อจำกัดอย่างไร ซึ่งในขั้นตอนนี้ ต้องมีการพูดคุยกับหน่วยเหนืออย่างใกล้ชิด จากนั้นผู้บังคับหน่วยจะให้ กรอบสำหรับการวางแผนแก่ทีมวางแผน เมื่อได้รับกรอบนโยบายที่ ชัดเจนแล้ว ทีมวางแผนก็จะเริ่มลงมือวางแผนโดยพิจารณาปัจจัยที่ สำคัญ ๓ ประการคือ ปัจจัยสภาวะแวดล้อม ปัจจัยกำลังฝ่ายเรา และ ปัจจัยกำลังฝ่ายข้าศึก การพิจารณาปัจจัยสภาวะแวดล้อม
ซึ่งได้แก่ พื้นที่ เวลา และ ระยะทาง ก็เพื่อศึกษาว่าจะสามารถใช้ปัจจัยดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ สูงสุดต่อฝ่ายเราได้อย่างไร และมีสิ่งใดที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ สำหรับการพิจารณาปัจจัยกำลังฝ่ายเรานั้น ก็เพื่อตรวจสอบความพร้อม ของฝ่ายเราในทุก ๆ ด้าน เพื่อ สะท้อนให้เห็นว่า จุดแข็ง - จุดอ่อนของเราคืออะไร เรามีความพร้อม มากน้อยเพียงใด สิ่งใดที่ฝ่ายเราขาดแคลน สิ่งใดที่ฝ่ายเรามีอย่าง เพียงพอ อะไรคือจุดตายของฝ่ายเรา
สำหรับการพิจารณาปัจจัยเกี่ยวกับข้าศึกนั้น คำตอบที่สำคัญคือ จุดอ่อน - จุดแข็งของข้าศึกคืออะไร ข้าศึกมีขีดความสามารถ อะไร และที่สำคัญกว่าก็คือ ข้าศึกมีความตั้งใจอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น