วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Close Quarters Battle (CQB) / Close Quarters Combat (CQC)






           Close Quarters Battle (CQB) หรือ Close Quarters Combat ทั้งคู่คือรูปแบบของการต่อสู้ในพื้นที่ที่มีขอบเขตจำกัด ด้วยอาวุธประจำกายในระยะประชิด ซึ่งอาจจเรียกได้ว่า "hand-to-hand combat" ในรูปแบบของ CQB การเข้าปะทะจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การเข้ายึดที่หมายอย่างรวดเร็วและรุนแรง เช่น ยานพาหนะหรืออาคารที่ศัตรูยึดเป็นที่มั่น ในขณะที่ศัตรูไม่สามารถจะถอยร่นได้


       
           ต่ทว่าในสถานการณ์ดังกล่าว ศัตรู ตัวประกัน พลเรือน รวมทั้งผู้ปฏิบัติการเข้ายึดสามารถที่จะอยู่ใกล้กันมากจนอาจจะทำให้เกิดการชี้เป้าผิดพลาด ดังนั้น CQB จึงต้องการความรวดเร็ว และแม่นยำในภาระกิจที่เสี่ยงต่อชีวิต ผู้ปฏิบัติการจึงต้องมีความชำนาญมากในการใช้อาวุธ และต้องสามารถตัดสินใจได้เร็วพอๆกับลูกกระสุน ที่จะลดอัตราการสูญเสีย 

                              
           CQB มีคำนิยามว่า รวดเร็ว รุนแรง ระยะประชิด (short-duration high-intensity conflict)





           ปัจจุบันมีความเข้าใจที่ผิดที่ว่า CQB หมายถึง การต่อสู้ในชุมชนเมือง (Urban warfare) ซึ่งเป็นการแปลความหมายที่ผิดไป CQB นั้นหมายถึง ารต่อสู้ระยะประชิดซึ่งจะเน้นไปที่กองกำลังขนาดเล็กเพื่อความคล่องตัวสูง (small infantry units using light) อาวุธขนาดกะทัดรัดเพื่อความเร็วของการใช้งานและพกพาในพื้นที่ที่จำกัด ซึ่งจะแตกต่างกับการต่อสู้ในชุมชนเมือง Urban warfare ซึ่งมีพื้นที่ที่กว้างใหญ่มากๆ ซึ่งมีการวางแผนตรรกศาสตร์ที่ที่ซับซ้อนด้วยอาวุธและยุทธภัณฑ์ รวมทั้งอาวุธหนักทั้งหลาย แต่สุดท้ายแลัวการเลือกใช้ปฏิบัติการ CQB ก็ยังคงจำกัดด้วยหลายปัจจัยที่ต้องเหมาะกับสถานที่ และโอกาส การรบระยะประชิดจึงไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดเสมอ






         ในการปฏิบัติการทางทหาร การสู้รบอันเกิดขึ้นในระยะประชิด เช่น ในห้องเล็กๆ จะต้องถูกวางแผน และปฏิบัติอย่างรัดกุมและระมัดระวัง หน่วยรบที่จะต้องเข้าทำการปฏิบัติในภารกิจนั้นๆ จะต้องได้รับการฝึก ทดสอบ ซักซ้อม จนชุดยิงทุกชุดสามารถปฏิบัติหน้าที่ประสานสอดคล้องกันได้ด้วยดี สมาชิกในหน่วยจะต้องเข้าใจในหลักพื้นฐานและในส่วนของการปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเพื่อการบรรลุผลสัมฤทธิ์ ของภารกิจ หลักพื้นฐานนั้นได้แก่ การปฏิบัติอย่างฉับพลัน + ความเร็ว + ความรุนแรง
       1. การปฏิบัติอย่างเฉียบพลัน เป็นกุญแจหลักที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของภารกิจ ชุดยิงหรือส่วนบุกจะต้องปฏิบัติการอย่างเฉียบพลัน ในระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่วินาที ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจ(Deceive) ทำให้ไขว้เขว(Distract) หรือสร้างความตกใจแก่ศัตรู(Startling) หมายรวมไปถึงการใช้ระเบิดแสง(Stun grenade / Flash Bang) ด้วย แต่ในกรณีนี้จะเกิดผลดีก็ต่อเมื่อเป็นการปฏิบัติต่อฝ่ายข้าศึกที่ไม่ได้มีการระมัดระวังตัว หรือถูกฝึกมาในระดับที่ไม่สูงนัก แต่ถ้าข้าศึกถูกฝึกมาเป็นอย่างดี ขั้นตอนนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย
       2. ความเร็ว มีผลให้ทีมบุกสามารถเข้ายึด/เคลียร์พื้นที่ภายในห้องได้โดยปลอดภัย ใน CQB การใช้ความเร็วไม่ได้หมายความว่าจะต้องเคลื่อนที่เร็วมากจนสูญเสียการระมัดระวัง แต่หมายความว่า ให้ระวังแล้วไปอย่างรวดเร็ว
       3. ความรุนแรง คือการปฏิบัติต่อข้าศึกอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจด้วยการทำการยิงด้วยอำนาจของอาวุธที่มี เพื่อทำให้ข้าศึกนั้นเหลือโอกาสน้อยที่สุดที่จะสร้างอันตรายกับสมาชิกของทีมบุก หลักเบื้องต้นทั้งสามต่างมีความสำคัญและสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เช่น ความรุนแรงและความเร็ว จะส่งผลให้การปฏิบัตินั้นเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ส่งผลให้ข้าศึกเกิดความชะงักงัน





พื้นฐานของรูปแบบการ CQB

1. การเช็คมุม
    ทุกครั้งที่เข้าเคลียร์พื้นที่ ในเขตการปะทะ จะต้องทำการเช็คมุมยิงให้ปลอดภัย ก่อนที่จะเข้าพื้นเสมอ


2. การเข้าซ้อนการยิง
    เพื่อรักษาอำนาจการยิงให้สูงที่สุด การเข้าซ้อนการยิง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ในการเคลื่อนที่ จากจุดนึงไปยังอีกจุดนึง

3. การเคลื่อนที่ตามทางเดิน
    มีการเคลื่อนที่หลักๆ อยู่ 3 รูปแบบ
    แบบที่ 1 จะเป็นการเคลื่อนที่ในรูปแบบ ปกติ ทั่วๆไป
    แบบที่ 2 คนที่สองจะทำการขึ้นมาเสริมอำนาจการยิงด้านหน้า 
และลดอำนาจการยิงด้านข้างลงไป
    แบบที่ 3 การเคลื่อนที่จะเป็นการทุ่มอำนาจการยิงไปไว้ด้านหน้า
ทั้งหมด

4. การเข้าเคลียร์สามแยก
    ทำการแบ่งเป็นสองทีมเข้าเคลียร์พร้อมกัน

5. การขึ้นบันได
    ให้สักเกตุการวางมุมยิงของคนแรกและคนที่สองในภาพ มุมยิงของคนแรกหลังจากที่ทำการเช็คแล้ว จะทำการหันหลังกลับมาคุ้มกันด้านหลัง และคนที่สอง จะทำการวางแนวยิงแทนที่คนแรก


6. การเข้าเคลียร์ในห้องแบบที่ประตูอยู่ที่มุม
    คนที่หนึ่งและคนที่สอง จะต้องเป้นคนที่ทำการ วางแนวยิงก่อน และเคลื่อนที่ไปยังมุมของห้องที่อยู่ฝั่งตรงข้าม โดยคนที่ สามและสี่จะต้องเข้าตามมาและวางแนวยิงอย่างรวดเร็ว


7. การเข้าห้องแบบที่มีประตูอยู่กึ่งกลาง
    การเข้าห้องแบบนี้จะมีวิธีให้เลือกปฎิบัติอยู่สองแบบ
    แบบแรกคนแรกและคนที่สอง จะเข้าห้องพร้อมๆกันในแบบครอส และคนที่สามและสี่ ตามเข้ามาติดๆ
     แบบที่สอง คนแรกและคนที่สองเข้าห้องก่อนและทำการวางแนวยิง พร้อมๆกับการเคลื่อนที่ไปยังมุมห้อง และคนที่สามและสี่เคลื่อนที่ตามเข้ามา

        การปฏิบัติ ณ ที่หมายนั้น จะต้องกระทำด้วยความรวดเร็ว ที่สำคัญคือฝึกซ้อมมาแล้วเป็นอย่างดี ตระหนักโดยตลอดว่าพื้นที่ปฏิบัตินั้นเป็นพื้นที่ที่มีอันตรายรอบด้าน อย่าลืมหลักพื้นฐานของ CQB คือที่เราจะต้องสร้างความชะงักงันให้กับฝ่ายตรงข้ามให้ได้ มิเช่นนั้นฝ่ายเราเองจะเซอร์ไพรซ์กับสิ่งที่เค้าเตรียมไว้มอบให้เรา

1. ตำแหน่งการวางตัวของสมาชิกในทีมบุก ณ จุดปฏิบัติ จะต้องสัมพันธ์กับสภาพภายในห้องที่จะบุก

2. ให้สัญญาณพร้อมปฏิบัติกับสมาชิก อันนี้หลีกเลี่ยงการใช้เสียงถ้าเป็นไปได้

3. ยุทธวิธี cqb จะสำเร็จผล ส่วนสำคัญส่วนนึงคือ สมาชิกทีมจะต้องรู้ขอบเขตการยิงของตัวเองและของเพื่อนร่วมทีม รู้ขอบเขตการยิงที่ต้องยิงให้ประสานกัน และยังต้องรู้อีกว่า แนวยิงส่วนไหนที่เรายิงแล้วจะเป็นการรบกวนหรือแทรกแซงการยิงของสมาชิกคนอื่น สมาชิกจะต้องทำการยิงสังหารในระหว่างเคลื่อนที่ไปยังจุดของตน ไม่ใช่เข้าจุดแล้วค่อยทำการยิง ทำการสังหารข้าศึกจะต้องทำอย่างรวดเร็ว

4. ถึงแม้แต่ละคนจะรับผิดชอบเขตการยิงของตัวเอง แต่อย่าลืมช่วยสอดส่องเขตการยิงของคนอื่นๆด้วย เผื่อเค้าพลาดเราจะได้ช่วยเหลือทัน

*** ยุทธวิธีการ CQB ที่ได้นำมาเขียนนี้นำมาจากยุทธวิธีจริง แต่ได้มีการปรับปรุงดัดแปลงบางส่วนเพื่อที่สามรถนำมาใช้กับตัวเกม Arma 3 ได้ ***

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น